การจำนอง 2568: ข้อดี-ข้อเสีย พร้อมข้อกฎหมายที่ต้องรู้ก่อนทำสัญญา

การจำนอง 2568: ข้อดี-ข้อเสีย พร้อมข้อกฎหมายที่ต้องรู้ก่อนทำสัญญา

สำหรับยุคที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ได้พุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง หลาย ๆ ท่านก็ได้มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งในการ จำนอง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อ แต่ก่อนที่ทุกท่านจะตัดสินใจในการทำสัญญา มีหลายประเด็นสำคัญที่ผู้กู้ควรพิจารณาให้รอบคอบ

ซึ่งทาง Homeforcash จึงอยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจพื้นฐานของ การจำนอง นั่นก็คือ การนำอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ผู้จำนองยังคงมีสิทธิครอบครอง และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งจะแตกต่างจากการจำนำที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนำ เดี๋ยวพวกเราพาไปชม ข้อดี ข้อเสีย กฎหมาย การจำนอง กันว่ามีอะไรบ้าง

ข้อดีของการจำนอง

  1. สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้ตามปกติในระหว่างจำนอง
  2. ได้รับวงเงินสินเชื่อในจำนวนที่สูงกว่าการกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกัน
  3. อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมประเภทอื่น เนื่องจากมีหลักประกัน
  4. ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนานกว่า ทำให้ภาระในการผ่อนต่อเดือนไม่สูงมากนัก

ข้อเสียและความเสี่ยง

  1. หากผิดนัดชำระหนี้ อาจถูกบังคับจำนอง และสูญเสียทรัพย์สิน
  2. มีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจำนอง และค่าธรรมเนียมต่างๆ
  3. กระบวนการอนุมัติซับซ้อน และใช้เวลานานกว่าการกู้แบบไม่มีหลักประกัน
  4. ต้องทำประกันภัยทรัพย์สินที่นำมาจำนอง เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย

 

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำนองที่ควรรู้  จำนอง 2568

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำนองที่ควรรู้

  1. ทรัพย์ที่จำนองได้ – ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703 ระบุว่าเฉพาะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเท่านั้นที่สามารถนำมาจำนองได้ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม เรือ เป็นต้น
  2. การจดทะเบียนจำนอง – สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่จดทะเบียน สัญญาจำนองจะไม่มีผลตามกฎหมาย
  3. สิทธิไล่เบี้ย – หากขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น
  4. การไถ่ถอนจำนอง – ผู้จำนองมีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน และต้องดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองกับเจ้าพนักงานที่ดิน
  5. การโอนสิทธิ – เจ้าหนี้สามารถโอนสิทธิให้บุคคลอื่นได้ แต่ต้องโอนพร้อมกับสิทธิในหนี้ที่ประกัน
  6. อายุความบังคับจำนอง – การบังคับจำนองต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับแต่วันที่หนี้ถึงกำหนดชำระ
  7. การบังคับจำนอง – เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำพิพากษาให้ยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนอง

ในปี 2568 นี้การจำนองยังคงเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ แต่ผู้ที่สนใจควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึง ข้อดี ข้อเสีย กฎหมาย การจำนอง และเตรียมความพร้อมทางการเงินให้ดี รวมทั้งศึกษาเงื่อนไขและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ

บทความอื่นๆของเรา